28 ธันวาคม 2554

มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม รหัสสำหรับอักขระไทยที่ใช้กับคอมพิวเตอร์

  1. ขอบข่าย
  2. บทนิยาม
  3. แบบ
  4. การกำหนดรหัสสำหรับอักขระไทย
  5. วิธีเรียกรหัสในตารางรหัส
  6. รหัสสำหรับอักขระไทยในตารางรหัสที่ขยายต่อจากตาราง ISO 646
  7. รหัสสำหรับอักขระไทยในตารางรหัส EBCDIC



1. ขอบข่าย


1.1มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนี้กำหนด แบบของรหัสสำหรับอักขระไทยที่ขยายต่อจาก

ตาราง ISO 646 และรหัสสำหรับอักขระไทยในตารางรหัส EBCDIC (extended

binary coded decimal interchange code) การกำหนดรหัสอักขระไทย และ

วิธีเรียกรหัสในตารางรหัส
1.2มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนี้กำหนด รหัสสำหรับอักขระไทยเพื่อใช้แลกเปลี่ยนข้อมูล

ระหว่างระบบคอมพิวเตอร์ การแลกเปลี่ยนนี้ให้รวมถึงการบันทึกข้อมูลในรูปรหัสลงบนสื่อ

(media) ด้วย
1.3มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนี้ครอบคลุมเฉพาะอักขระไทย โดยยึดหลักการไม่เปลี่ยน

แปลงรหัสที่องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐานได้กำหนดไว้แล้ว ตาม ISO

646 และ EBCDIC



2. บทนิยาม



ความหมายของคำที่ใช้ในมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนี้ มีดังต่อไปนี้
2.1อักขระ หมายถึง ตัวอักษร ตัวเลข เครื่องหมายพิเศษ และเครื่องหมายอื่นใดที่มีใช้ใน

ระบบคอมพิวเตอร์
2.2รหัส หมายถึง กลุ่มตัวเลขฐานสองที่ใช้แทนอักขระ
2.3ตารางรหัส หมายถึง ตารางที่ใช้สำหรับแสดงความสัมพันธ์ระหว่างอักขระกับรหัส
2.4อักขระไทย หมายถึง ตัวอักษรไทย ตัวเลขไทย และเครื่องหมายพิเศษ จำแนกเป็นกลุ่ม

ได้ดังนี้


2.4.1ตัวอักษรไทย




2.4.1.1
พยัญชนะ ได้แก่












































2.4.1.2
สระ ได้แก่

























(นิคหิต)
. (พินทุ)




2.4.1.3
วรรณยุกต์และทัณฑฆาต ได้แก่





และ
(ทัณฑฆาต)



-1-



มอก. 620-2533



2.4.2
ตัวเลขไทย ได้แก่











2.4.3เครื่องหมายพิเศษ




2.4.3.1
เครื่องหมายพิเศษทั่วไป ได้แก่







2.4.3.2
เครื่องหมายพิเศษเฉพาะ ได้แก่ ฿
(บาท)
๎ (ยามักการ)
๏ (ฟองมัน)





๚ (อังคั่นคู่)
และ
(โคมูตร)




หมายเหตุ
เครื่องหมาย

(นิคหิต)
. (พินทุ)และเครื่องหมายพิเศษเฉพาะให้ถือเป็นอักขระเผื่อเลือก





ที่จะนำมาใช้หรือไม่ก็ได้



3. แบบ


3.1รหัสสำหรับอักขระไทยแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ


3.1.1รหัสที่ขยายต่อจากตารางรหัส ที่กำหนดโดยองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการ



มาตรฐาน ตาม ISO 646 ซึ่งกำหนดรหัสไว้เพียง 7 บิต โดยเพิ่มค่าในบิตที่ 8



สำหรับรหัสสำหรับอักขระไทยให้เป็น 1



บิต
    b8
    b7
    b6
    b5
    b4
    b3
    b2
    b1
น้ำหนัก
    128
    64
    32
    16
    8
    4
    2
    1


3.1.2 รหัสที่ขยายต่อจากตารางรหัส EBCDIC โดยรหัสสำหรับอักขระไทยที่กำหนดนี้จะ



กำหนดลงในช่องว่างของตารางรหัส EBCDIC



4. การกำหนดรหัสสำหรับอักขระไทย


4.1การแสดงรหัสจะแสดงเป็นตารางขนาด 16 ช่อง x 16 ช่อง โดยอาศัยวิธีการกำหนด

รหัสดังนี้


4.1.1หมายเลขแถว 0 ถึง 15 ใช้แทนรหัสเลขท้าย 4 บิต (เลข 4 บิตได้แก่ 0000



ถึง 1111) หมายเลขแถวนี้จะใช้เลขฐานสิบเป็นตัวบอกคือ 0 ถึง 15 หรือใช้เลข



ฐานสิบหกเป็นตัวบอก คือ   0,   1,   2,   3,   4,   5,   6,   7,   8,   9,   A,   B,   C,   D,
E และ   F


4.1.2 หมายเลขสดมภ์ 0 ถึง 15 ใช้แทนรหัสเลขต้น 4 บิต กำกับด้วยเลขฐานสิบหรือ



เลขฐานสิบหก เช่นเดียวกับข้อ 4.1.1


หมายเหตุในส่วนของรหัสตาม ISO 646 มีเพียง 7 บิต เมื่อนำมาแสดงโดยมีรหัสสำหรับอักขระไทยใช้



ร่วมด้วยจึงจำเป็นต้องขยายขึ้นเป็น 8 บิต โดยบิตที่ 8 ที่มีค่าเป็น 0 จะเป็นรหัส 128 ตัว



ของ ISO 646 และบิตที่ 8 ที่มีค่าเป็น 1 จะเป็นรหัสสำหรับอักขระไทย ตามวิธีการดังกล่าว



จะทำให้ตารางขยายเป็นขนาด 16 ช่อง x 16 ช่อง



อ้างอิงจาก  http://www.nectec.or.th/it-standards/std620/std620.htm











































อักษรปะเภทต่างๆ

อักษรไร้สระ (Abjads)
มีแต่พยัญชนะหรือพยัญชนะกับสระบางตัว อาจเติมเครื่องหมายแทนเสียงสระได้แต่ไม่ใช่รูปแบบปกติ
อักษรซัลเตอร์ (Psalter)
อักษรซอกเดีย
อักษรซาบาเอียน (Sabaean)
อักษรซามาริทัน (Samaritan)
อักษรซีเรียค (Syriac)
อักษรทิฟินาค (Tifinagh)
อักษรดิเวส อกุรุ (Dhives Akuru)
อักษรนาบาทาเอียน (Nabataean)
อักษรเบอร์เบอร์โบราณ
อักษรเปอร์เซียกลาง (Middle Persian)
อักษรพาร์เทียน (Parthian)
อักษรฟินิเชีย (Phoenician)
อักษรมันดาอิก (Mandaic)
อักษรยาวี (Jawi, Yawi)
อักษรยูการิติก (Ugaritic)
อักษรอราเมอิก (Aramaic)
อักษรอาระเบียใต้ (South Arabian)
อักษรอาหรับ (Arabic)
อักษรฮีบรู (Hebrew)
อักษรฮีบรูระยะแรก (Proto-Hebrew)
[แก้]อักษรสระประกอบ (Syllabic alphabets, alphasyllabaries or abugidas)
อักษรกทัมพะ (Kadamba)
อักษรกลิงคะ
อักษรกวิ (Kawi)
อักษรกันนาดา (Kannada)
อักษรกันนาดาโบราณ (Old kannada)
อักษรกูร์มูคี (Gurmukhi)
อักษรขอม (Khom)
อักษรขอมไทย
อักษรขอมบาลี
อักษรเขมร (Khmer)
อักษรขโรษฐี (Kharosthi)
อักษรคยาห์ (Kayah Li)
อักษรคฤนถ์ (Grantha)
อักษรคุชราต (Gujarati)
อักษรคุปตะ
อักษรจาม (Cham)
อักษรชวา (Javanese)
อักษรโซยอมโบ (Soyombo)
อักษรตักบันวา (Tagbanwa)
อักษรตากาล็อก (Tagalog)
อักษรเตลุกุ (Telugu)
อักษรโตชาเรียน (Tocharian)
อักษรทมิฬ (Tamil)
อักษรทิเบต (Tibetan)
อักษรเทวนาครี (Devanagari)
อักษรไทดำ (Tai Dam)
อักษรไทใต้คง (Dehong Dai)
อักษรไทย (Thai)
อักษรไทลื้อ (Tai Lue)
อักษรไทใหญ่ (Shan)
อักษรไทอาหม (Ahom) .
อักษรธรรมลาว/ธรรมอีสาน
อักษรบาตัก (Batak)
อักษรบายบายิน
อักษรบาหลี (Balinese)
อักษรเบงกาลี (Bengali)
อักษรบูฮิด (Buhid)
อักษรพม่า (Burmese)
อักษรพราหมี (Brahmi)
อักษรพัก-ปา (Phags-pa)
อักษรม้ง (Hmong)
อักษรมอญ (Mon)
อักษรมณีปูรี (Manpuri)
อักษรมาลายาลัม (Malayalam)
อักษรโมดี (Modi)
อักษรรานจานา (Ranjana)
อักษรเรดยัง (Redjang)
อักษรลนตารา/มากาซาร์ (Lontara/Makasar)
อักษรลันทะ (Landa)
อักษรล้านนา (Lanna)
อักษรลาว (Lao)
อักษรลิมบู (Limbu)
อักษรเลปชา (Lepcha)
อักษรวารังกสิติ (Varang Kshiti)
อักษรสรทะ (Sharda)
อักษรเสาราษฏร์ (Sourashtra)
อักษรสิงหล (Sinhala)
อักษรสิทธัม (Siddham)
อักษรสิเลฏินาครี (Sylheti Nagari)
อักษรโสรัง สมเป็ง (Sorang Sompeng)
อักษรเอธิโอปิก (Ethiopic)
อักษรโอริยา (Oriya)
อักษรฮานูโนโอ (Hanuno'o)
[แก้]อักษรสระ-พยัญชนะ (Alphabets)
อักษรกรีก (Greek)
อักษรกลาโกลิติก (Glagolitic)
อักษรเกาหลี (Han-gul)
อักษรโกธิก (Gothic)
อักษรคอปติก (Coptic)
อักษรคาเรีย
อักษรจอร์เจีย (Georgian)
อักษรซีริลลิก (Cyrillic)
อักษรโซมาลี (Somali)
อักษรทานะ (Thaana)
อักษรบัสซา (Bassa Vah)
อักษรเบยทากุกจู (Beitha Kukju)
อักษรโบสถ์สลาโวนิกโบราณ (Old Church Slavonic)
อักษรเปอร์มิกโบราณ (Old Permic)
อักษรพอลลาร์ด เมียว (Pollard Miao)
อักษรฟราเซอร์ (Fraser)
อักษรมองโกเลีย (Mongolian)
อักษรเมรอยติก (Meroïtic)
อักษรแมนจู (Manchu)
อักษรรูนส์ ฮังการี (Hungarian Runes)
อักษรรูนส์ (Runic)
อักษรรูมี (Rumi)
อักษรละติน หรือ อักษรโรมัน (Latin)
อักษรไลเซีย
อักษรไลเดีย
อักษรเวเนติก (Venetic)
อักษรสัทศาสตร์สากล (International Phonetic Alphabet)
อักษรสันตาลี (Santali)
อักษรอเวสตัน (Avestan)
อักษรออร์คอน (Orkhon)
อักษรอาร์เมเนีย (Armenian)
อักษรอิตาลีโบราณ (Old Italic)
อักษรอีทรัสคัน (Etruscan)
อักษรเอ็นโก (N'Ko)
อักษรเอลบ์ซาน (Elbsan)
อักษรโอคัม (Ogham)
อักษรไอริช (Irish)
[แก้]อักษรพยางค์ (syllabaries)

อักษรกเปลเล (Kpelle)
อักษรครี (Cree)
อักษรคะตะคะนะ (Katakana)
อักษรคาร์เรีย (Carrier)
อักษรเชอโรกี (Cherokee)
อักษรเซลติเบเรียน (Celtiberian)
อักษรไซเปรียท (Cypriot)
อักษรนดยุกา (Ndjuká)
อักษรแบล็กฟุต (Blackfoot)
อักษรเมนเด (Mende)
อักษรอี้ (Yi)
อักษรโลมา (Loma)
อักษรไว (Vai)
อักษรหมู่เกาะคาโรไลน์ (Caroline Island Script)
อักษรอัคคาเดีย (Akkadian)
อักษรอินุกติตุต (Inuktitut)
อักษรโอจิบเว (Ojibwe)
อักษรไอบีเรีย (Iberian)
อักษรฮิระงะนะ (Hiragana)
[แก้]อักษรคำ (complex scripts)

สือดิบผู้จ่อง
อักษรคีตัน (Khitan)
อักษรจีน (Chinese)
อักษรจื๋อโนม (Chữ-nôm)
อักษรจูร์เชน (Jurchen)
อักษรญี่ปุ่น (Japanese)
อักษรตันกัท (Tangut)
อักษรนาซี (Naxi)
อักษรนุชุ (Nushu)
อักษรมายา (Mayan)
อักษรลูเวีย
อักษรไลเนียร์บี (Linear B)
อักษรวินคา
อักษรอียิปต์โบราณ (Ancient Egyptian)



อ้างอิง http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%A3%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%86%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%A3

TIS-620 คืออะไร

TIS-620 คืออะไร 
มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม 620-2533, มอก.620-2533, หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่า TIS-620 เป็นชุดอักขระมาตรฐานอุตสาหกรรมของไทย มีชื่อเต็มว่า รหัสสำหรับอักขระไทยที่ใช้กับคอมพิวเตอร์
รหัส TIS-620 มีรายละเอียดคล้ายรหัส ISO-8859-11 มาก แตกต่างกันแค่เพียงที่ ISO-8859-11 กำหนดให้ A0 เป็น "เว้นวรรคแบบไม่ตัดคำ" (no-break space) ส่วน TIS-620 นั้นแม้จะสงวนตำแหน่ง A0 เอาไว้ แต่ก็ไม่ได้กำหนดค่าใด ๆ ให้


ตารางด้านบน 20 คือเว้นวรรค และ TIS-620 ไม่ได้กำหนดตัวอักขระสำหรับค่ารหัส 00-1F, 7F, 80-9F, A0, DB-DE และ FC-FF
ค่ารหัส D1, D4-DA, E7-EE เป็นอักขระผสม

อ้างอิงจาก จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วิวัฒนาการของตัวอักษร

ราว พ.ศ. 400 ไทยได้อพยพจากถิ่นเดิมมาตั้งภูมิลำเนาอยู่ใกล้อาณาเขตมอญ ซึ่งกำลังเป็นชาติที่เจริญรุ่งเรืองในสมัยนั้น เริ่มแรกคงเริ่มเลียนแบบตัวอักษรมาจากมอญ ต่อมาราว พ.ศ. 1500 เมื่อขอมขยายอำนาจเข้ามาในดินแดนของคนไทยซึ่งตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำยม และได้ปกครองเมืองเชลียงและเมืองสุโขทัย ไทยก็เริ่มดัดแปลงอักษรที่มีอยู่เดิมให้คล้ายกับอักษรขอมหวัด
อักษรมอญและอักษรขอมที่เรานำมาดัดแปลงใช้นั้นล้วนแปลงรูปมาจากอักษรในกลุ่มอักษรพราหมี ของพวกพราหมณ์ ซึ่งรับแบบมาจากอักษรฟินิเชียอีกชั้นหนึ่ง อักษรเฟนีเซียนับได้ว่าเป็นอักษรที่เก่าแก่ที่สุด และเป็นแม่แบบตัวอักษรของชาติต่างๆ ทั้งในเอเชียและยุโรป
ราว พ.ศ. 1826 พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรง ประดิษฐ์อักษรไทยที่เรียกกันว่า "ลายสือไทย" ขึ้น ซึ่งได้เค้ารูปจากอักษรอินเดียฝ่ายใต้ รวมทั้งอักษรมอญและเขมรที่มีอยู่เดิม (ซึ่งต่างก็ถ่ายแบบมาจากอักษรอินเดียฝ่ายใต้ทั้งสิ้น) ทำให้อักษรไทยมีลักษณะคล้ายคลึงกับอักษรทั้งสาม แม้บางตัวจะไม่คล้ายกัน แต่ก็สามารถรู้ได้ว่าดัดแปลงมาจากอักษรตัวไหน
อักษรไทยมีการปรับปรุงอยู่เรื่อยๆ ในสมัยพญาฦๅไทราว พ.ศ. 1900 มีการแก้ไขตัวอักษรให้ผิดเพี้ยนไปบ้างเล็กน้อย โดยเฉพาะการเพิ่มเชิงที่ตัว ซึ่งใช้ติดต่อเรื่อยมาจนทุกวันนี้ คาดว่าน่าจะเอาอย่างมาจากเขมร ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ราว พ.ศ. 2223 ตัวอักษรเริ่มมีทรวดทรงดีขึ้นแต่ก็ไม่ทิ้งเค้าเดิม มีบางตัวเท่านั้นที่แก้ไขผิดไปจากเดิม คือตัว และ ซึ่งเหมือนกับที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน นักวิชาการจำนวนหนึ่งเชื่อว่าในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตัวอักษรและการใช้งานมีความคล้ายคลึงกับในปัจจุบันมากที่สุด

พยัญชนะ

พยัญชนะไทยมี 44 รูป สามารถแบ่งตามฐานที่ใช้ในการออกเสียงเป็นวรรค ดังเช่นในภาษาบาลีและสันสกฤต พร้อมแสดงชื่อเรียกในปัจจุบัน
วรรค กะ - ไก่ ไข่ ขวด* ควาย คน* ระฆัง งู
วรรค จะ - จาน ฉิ่ง ช้าง โซ่ เฌอ หญิง
วรรค ฏะ - ชฎา ปฏัก ฐาน มณโฑ ผู้เฒ่า เณร
วรรค ตะ - เด็ก เต่า ถุง ทหาร ธง หนู
วรรค ปะ - ใบไม้ ปลา ผึ้ง ฝา พาน ฟัน สำเภา ม้า
เศษวรรค - ยักษ์ เรือ ลิง แหวน ศาลา ฤๅษี เสือ หีบ จุฬา อ่าง นกฮูก
* เนื่องจาก ฃ และ ฅ ปัจจุบันไม่พบการใช้งาน จึงอนุโลมใช้ ข และ ค แทนในการสะกด
พยัญชนะไทยยังแบ่งออกเป็น 3 หมู่ เรียกว่า ไตรยางศ์ ประกอบด้วย
  • อักษรสูง 11 ตัว ได้แก่ ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส ห ( ฉันฝากขวดขี้ผึ้งใส่ถุงให้เศรษฐี )
  • อักษรกลาง 9 ตัว ได้แก่ ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ ( ไก่จิกเด็กตายบนปากโอ่ง ฎ ฏ )
  • อักษรต่ำ 24 ตัว ได้แก่ ค ฅ ฆ ง ช ซ ฌ ญ ฑ ฒ ณ ท ธ น พ ฟ ภ ม ย ร ล ว ฬ ฮ (พ่อค้าฟันทองซื้อช้างฮ่อ ฅ ฆ ฌ ฑ ฒ ธ ภ )

สระ

สระในภาษาไทยมี 21 รูป ซึ่งรูปสระเหล่านี้จะนำไปประกอบเป็นรูปสระที่ใช้จริงอีกต่อหนึ่ง

รหัสยูนิโคดสำหรับอักษรไทย

ช่วงรหัสยูนิโคด (Unicode) ของอักษรไทย คือ U+0E00 ถึง U+0E7F

อ้างอิง

  • กำชัย ทองหล่อ, หลักภาษาไทย, กรุงเทพฯ :บำรุงสาส์น, 2533.




    การเตรียมไฟล์เพื่องานพิมพ์ เบื้องต้นครับ

    บทความโดย : ขจร พีรกิจ
    คัดลอกจากเว็บไซต์ : InDesignThai.com (Link : http://www.indesignthai.com/?p=115)
    การทำงานด้วย Adobe Illustratorใน บ้านเราผมว่าความนิยมในการใช้ไฟล์งานที่ส่งไปเข้ากระบวนการแยกสี และกระบวนงานพิมพ์มากที่สุด ก็น่าจะเป็นไฟล์งานที่สร้างจากโปรแกรม Adobe Illustrator นี่แหละ และโปรแกรมนี้ก็สร้างความปวดเศียรเวียนเกล้าให้กับคนทำงานด้วยปัญหานานับ ประการ สาเหตุก็เพราะว่า ส่วนใหญ่อวดดี คิดว่าเก่งออกแบบแล้วจะเก่งกาจในการใช้เครื่องมือด้วย ผลก็คือ คนส่งงานก็คิดว่างานเรียบร้อย คนรับงานก็ไม่กล้าพูดว่างานมีปัญหา เพราะเดี๋ยวลูกค้าคิดว่าไม่เก่งร้านอื่นเก่งกว่า ทั้งๆ ที่ทุกคนก็มีปัญหา แต่ไม่ยอมพูดความจริง เรื่องปัญหาเหล่านี้จึงแก้ไขไม่ได้เสียที เราลองมาดูปัญหากันก่อนว่ามีอะไรบ้าง
    1. ส่งไฟล์เป็น eps สำหรับเรื่องนี้หลายคนไม่ทราบว่าการ Save ไฟล์จากโปรแกรม Illustrator เขาไม่นิยมให้ใช้ รูปแบบ .eps กันแล้ว ความรู้เก่าๆ สมัยแรมเม็กละ พันบาท เพลตตัดสองราคาแปดพันมันใช้ตอนนี้ไม่ได้แล้ว เพราะการ Save เป็น eps นั้นมันไม่มี Color Management และไม่มีขอบเขตงานมันมักจะมาตาม Art ที่สร้างไว้ แล้วก็ไม่ค่อยสมบูรณ์กับการใช้งานตามเครื่องมือใหม่ๆ เช่น Transparency
    2. ส่งไฟล์ขนาดใหญ่เกินความจำเป็น ผมมักจะเปรียบเทียบไฟล์แบบนี้ว่าไฟล์ควายที่มีหญ้าติดมาตอนส่งงานด้วย ก็ไฟล์อะไรล่ะที่ใหญ่เป็นร้อยเม็ก (MB) สั่ง Save สั่ง Print ทีนั่งรอเป็นวัน เรื่องนี้ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่คนทำงานไม่ทราบว่าโปรแกรม Adobe Illustrator มันมีข้อจำกัดเรื่องจำนวน Path ห้ามเกิน 5,000 Path เพราะเมื่อเกินแล้วเวลา Save ถ้าใช้เครื่อง Mac ก็จะเห็นวงกลมสายรุ้งหมุนไม่หยุดต้องรอนาน แต่พอบอกว่ามีข้อจำกัดอย่างนี้ แล้วจะสร้างงานใหญ่ๆ ได้อย่างไร ซึ่งความจริงแล้วถ้าทำงานเป็นไฟล์มันจะไม่ใหญ่เลย เรื่องนี้คนที่ทำโปรแกรม Adobe Illustrator ที่มั่วกันมาตลอด ภาษาอังกฤษก็ไม่คล่อง เรียนก็ไม่ได้เรียน ยังจะมาอวดดีอยู่ไม่ได้แล้ว ต้องหันมาทำความเข้าใจเรื่อง Path ต้องมีวิธีการจัดการกับ Path ด้วยการสั่งการทำงานผ่าน Appearance พูดง่ายๆ คือต้องทำงานด้วยเครื่องมือให้เป็น แล้วเดี๋ยวนี้เขามีการทำงานเน้นใช้วิธีการแบบ Isolate Mode อีก หน้าที่คนทำงานก็ต้องศึกษาว่าเดี๋ยวนี้เครื่องมือมันมีการพัฒนาการไปแล้ว ความคิดสร้างสรรค์ยังใช้เหมือนเดิม แต่ต้องเลือกเครื่องมือทำงานให้มีประสิทธิภาพด้วย ซึ่งเรื่องเหล่านี้ใครที่ติดตาม เป็นสมาชิกของ www.thaiadobeuser.com จะทราบขั้นตอนวิธีการดีว่าทำได้จริงหรือไม่
    3. ส่งไฟล์โดยกำหนดความละเอียดต่ำ บอกอย่างนี้ หลายคนอาจจะแย้งว่า Illustrator มันเป็นโปรแกรมประเภทเวคเตอร์ไม่ใช่หรือ แล้วมันจะตั้งรายละเอียดอย่างไร จริงอยู่โปรแกรม Adobe Illustrator เป็นโปรแกรมประเภทเวกเตอร์ แต่เมื่อเราต้องนำภาพมาวางในงาน การสั่ง Effects เช่น Drop Shadow ที่มักชอบสั่งกัน อย่างนี้แหละโปรแกรมต้องพยายามทำให้เวกเตอร์นี้กลายเป็นภาพ เรียกว่า Rasterize และโปรแกรม Adobe Illustrator เวอร์ชั่นตั้งแต่ CS2 ลงไป เมื่อทุกคนทำงานโดยไม่ได้ผ่านการกำหนดตั้งค่าการทำงานที่ถูกต้อง เมื่อเลือกสร้างงานใหม่ขึ้นมา ในส่วน Document Raster Effects Setting จะถูกตั้งมาจากโรงงานที่ 72 ppi นั่นหมายความว่าเมื่อทำงานเสร็จ แล้วมีการ Flatten Transparency โดยความตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม ภาพที่ได้ก็จะเป็นภาพที่ความละเอียด 72 ppi ครั้งเอาไฟล์นี้มาส่งพิมพ์ ศูนย์บริการเขาเปิดมาเห็นเป็น 72 ppi เขาก็จะเปลี่ยนเป็น 300 ppi ซึ่งจะเกิดความผิดพลาดของ Effects ที่สร้างไว้ทันที ดังนั้นใน CS3 และ CS4 ปัญหานี้เลยถูกแก้ไขโดย Adobe ด้วยการมี Document Profile ให้เลือกก่อนที่เริ่มทำงาน ซึ่งสามารถเลือกให้เหมาะสมกับงานที่เราจะทำได้
    4. ส่งไฟล์โดยการ Create Outline เป็นประเพณีนิยมไปแล้ว ว่าจะส่งงานต้อง Create Outline ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาแบบตัดช่องน้อยแต่พอตัว แต่กลับไปสร้างปัญหาใหม่เกิดขึ้น ผมต่อต้านเรื่องการ Create Outline มานาน หลายคนไม่ชอบขี้หน้าผมเพราะผมมักจะว่าคนแนะนำให้ Create Outline เป็นคนสิ้นคิด บางคนก็อาจจะแย้งผมว่าถ้าสิ้นคิดแล้วทำไม Adobe มันใส่คำสั่งนี้มา เรื่องนี้ต้องแยกให้ออกจากกัน การที่เราจะใช้คำสั่ง Create Outline ก็เพราะว่าเราต้องทำเป็นกราฟฟิค หรือต้องมีการดัดแปลงเป็นงานดีไซน์ หรือเพราะว่าปลายทางเขาไม่มี Font ที่เราใช้ เขากลัวละเมิดลิขสิทธิ์ก็เลยต้อง Create Outline ไป การ Create Outline ผลเสียก็คือไฟล์งานจะใหญ่ ขอบตัวหนังสือจะบวม และที่สำคัญไม่สามารถแก้ไขข้อความได้ วิธีทำงานที่ไม่ต้อง Create Outlineก็คือการ Save ไฟล์ไปเป็น PDF/X ซึ่งเราสามารถส่งไฟล์ไปให้ศูนย์บริการได้อย่างไม่มีปัญหา
    5. ส่งไฟล์โดยไม่กำหนดขอบเขตงาน อย่างที่บอกส่วนใหญ่มักจะมั่วกันมาแต่ต้น เวลาสร้างงานก็ไม่เคยกำหนด Art board ให้ถูกต้อง มักจะสร้างงานโดยไม่สนใจ Document Setup แล้วมาใช้คำสั่ง CROP ในภายหลัง แถมไม่รู้จักการเผื่อตัดตกมาอีก เรื่องการเผื่อตัดตก หลายคนยังเข้าใจผิดว่าเราสามารถทำงานแล้วดึงภาพขยายออกไปข้างละ 3 มิลลิเมตร แล้วถือว่าทำการตัดตกแล้ว ความจริงหากใครทำอย่างนี้แล้วไม่สื่อสารกันให้ดี เมื่อส่งไฟล์นี้ไปยังศูนย์บริการที่มีมาตรฐานพอเขาโยนงานนี้เข้าโปรแกรม Imposition (โปรแกรมจัดหน้าสำหรับการ Output) โปรแกรมจะมองว่าขนาดงานนี้คือ A4 + 6 มิลลิเมตร แล้วก็ยังไม่มีเผื่อตัดตกอีก ต้องมาใส่คำสั่งเป็นแบบป้อนข้อมูลลงไป วิธีแก้ปัญหาก็คือการสร้าง Art Board ให้มีขนาดเท่าจริง แล้วก็สร้างพื้นให้คลุมขนาดงานจริงออกไปข้างละ 3 มิลลิเมตร แล้วตอน Save เป็น PDF/X-3 ก็เลือก Marks and Bleed เพิ่มเข้าไปก็จะทำให้ขอบเขตที่ไฟล์ PDF ถูกต้อง และปัญหานี้ก็ถูกแก้ไขปรับปรุงมาใน CS4 ที่เพิ่มความสามารถด้วยการใส่ Bleed Size ที่ Document Setup ได้
    6. ใช้โปรแกรมผิดประเภท ปัญหานี้เป็นปัญหาที่เริ่มต้นมาจากความมักง่ายของนักออกแบบ ที่ไม่อยากจะศึกษาโปรแกรมอื่นๆ ที่เหมาะสมกับงาน และพวกนี้แหละเรียกว่าขยันแต่ทึ่ม ใช้โปรแกรม Adobe Illustrator ทำหนังสือบ้าง ใช้ทำงานที่มีหลายหน้าบ้าง พูดง่ายๆ คือเอาไปทำงาน Page Layout และสิ่งที่ผมกลัวอีกก็คือ ในเวอร์ชั่น CS4 โปรแกรม Adobe Illustrator CS4 สามารถสร้างหน้า Artboard ได้ถึง 100 หน้า เดี๋ยวก็จะเจอพวกนักออกแบบปัญญานิ่มนำมาทำหนังสืออีกแน่ๆ ทั้งๆ ที่ Adobe บอกว่าความสามารถนี้เขาทำมารองรับการทำงานแบบหลายขนาด หรืองาน Web หรืองานโปรเจคเช่น ทำ สื่อสิ่งพิมพ์หลายๆ อย่างอยู่ในไฟล์งานเดียวกัน แต่ถ้าจะทำงานแบบ Pagination ต้องไปโน่น Adobe InDesign
    7. ใช้ Font โบราณ เรื่องนี้เป็นมูลเหตุทำให้หลายคนยังต้องมีโปรแกรม Adobe Illustrator หลายเวอร์ชั่นในเครื่อง เพราะบ้านเมืองเรามันอาภัพปัญหาเรื่องภาษาไทย ไม่มีคนมาแก้ไขให้ถูกจุด คนที่ไม่รู้ก็คิดว่าเป็นปัญหาที่ Font ต่างก็ใช้ความเขลาของตนมุ่งไปแก้ปัญหาที่การทำ Fonts ขึ้นมาใหม่ความจริงแล้วปัญหาที่แท้จริงมันอยู่ที่เราไม่มีมาตรฐานการใช้งาน ภาษาไทยในระบบคอมพิวเตอร์ ต่อให้สร้าง Fonts มาอีกเป็นร้อย Fonts มันก็แก้ปัญหาการเปิดไฟล์เก่าๆ ไม่ได้ ผมขอถามว่าจะทำอย่างไรให้การใช้งาน ภาษาไทยที่ UTF-8 กับ UTF-16 ทำงานร่วมกันได้ หรือจะทำอย่างไรถึงจะแทน Font ที่เข้าระหัสแบบ ASCII ด้วย Font Unicode ได้ ตัวอย่างที่เห็นชัดคือ ไฟล์ Word 97 กับไฟล์ Word XP เปิดร่วมกันไม่ได้ หรือ ไฟล์ที่ทำงานบน OS 9 มันไม่เข้ากับไฟล์ที่ OS X แล้วทำไมภาษาอื่นเขาไม่มีปัญหา จะเป็น ASCII หรือ Unicode แล้วทำไมบ้านเรามีปัญหา หรือบ้านเราเอาคนไม่รู้จริงมาทำงาน แล้วทำไมไม่แก้ไข ผมงงมาก เพราะเรื่องนี้ผมก็พูดมาหลายทีแต่ไม่มีใครที่จะหยิบยกเป็นประเด็นในการแก้ไข เลย ในส่วนนักออกแบบก็ขาดความรับผิดชอบมักจะขวนขวายหาแต่ Fonts ที่ตัวเองชอบโดยไม่รู้ว่ามันมีปัญหา หรือมันมีลิขสิทธิ์ (อันนี้น่าเห็นใจ ก็ใครมันจะไปรู้ได้ว่า Font ไหนมีมาตรฐาน เพราะเราไม่มีหน่วยงานมารับรองเรื่องนี้นั่นเอง) ผมเสียดายที่อุตส่าห์ร่ำเรียนกันมา แต่มักไม่ใช้ความรู้ที่จะออกแบบงานภายใต้ข้อจำกัดให้เป็นประโยชน์ อย่างนี้น่าจะออกกฎหมายมาห้ามใช้ Fonts เก่าที่ไม่สามารถทำงานได้ในอนาคตนะ ทำแบบการบังคับใช้น้ำมัน หรือออกกฏหมายโฆษณาของมึนเมาดีไหม จะได้ลด ละ เลิก การใช้ Fonts ภาษาไทยแบบ Postscript กันเสียที หรือถ้าไม่อยากเลิก ก็ทำการประท้วงให้มีการปรับปรุงมาตรฐานการใช้งานภาษาไทยกันเสียใหม่ไม่อย่าง งั้นปัญหามันก็จะไม่จบไม่สิ้นกับเรื่อง Fonts
    8. ส่งไฟล์ภาพมั่ว ทำงานโดยใช้คำสั่ง Link ไฟล์ภาพ แต่ไม่ส่งภาพมา ส่งภาพมาก็มีโปรไฟล์สีร้อยพ่อพันแม่ ภาพที่ได้ความละเอียดไม่พอ หรือไม่ก็ความละเอียดมากเกินไปทำให้ไฟล์งานใหญ่มหึมา ทั้งหมดนี้ก็เป็นปัญหาที่พบบ่อยในงานที่ส่งไปศูนย์บริการ ดังนั้นผู้สร้างงานควรทำความเข้าใจเรื่องนี้ให้ถ่องแท้เสียก่อน
    9. ใช้เครื่องมือมั่ว ปัญหานี้ก็คือการที่คนทำงานไม่เข้าใจข้อจำกัดของโปรแกรมดังนั้น Adobe จึงได้ทำการปรับปรุงการใชังานในแต่ละเวอร์ชั่นเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น เช่น การใช้คำสั่งที่ Filter ซึ่งไม่เหมาะกับงานพิมพ์ ( Adobe เขาสร้างโปรแกรมนี้มาไม่ได้เพื่องานพิมพ์อย่างเดียวนะครับ เขาทำมาเพื่องาน Web งาน Mobile และงาน Animation ด้วย) ดังนั้นใน CS4 ทาง Adobe จึงตัดเมนูในชุดคำสั่งนี้ออกไป หรืออย่างการใช้คำสั่ง Mesh การใช้งาน Blend คำสั่งพวกนี้ก็ต้องเข้าใจเรื่อง Transparency และ Rasterize และอย่างการเลือกสีที่ใช้ใน Swatches ก็เลือกโดยไม่ดูว่าสีนั้นเป็น Process หรือ Spot หรือ RGB ดังนั้นใน CS3 และ CS4 จึงได้มีการปรับปรุงการใช้งานให้ถูกต้องยิ่งขึ้น แต่ถ้ายังใช้เวอร์ชั่นที่ต่ำกว่า CS3 ก็จะพบปัญหาเหล่านี้อีก สิ่งที่คนทำงานมักไม่เข้าใจก็คือ เห็นงานในจอไม่มีปัญหา แต่ทำไมเวลา Output กลับไม่สามารถทำได้ เรื่องเหล่านี้คงต้องหาเวลาไปนั่งอ่านหนังสือ Classroom in a Book มานั่งอ่านอย่าคิดว่าข้าเก่งแล้ว ไอ้ที่ว่าแน่น่ะมันแน่แบบมั่วๆ มากกว่าละมัง
    10. Save เป็น PDF ไม่ถูกต้อง อันนี้เป็นประเด็นที่ทำให้ศูนย์บริการอ้างว่าก็คุณทำ PDF มาไม่สมบูรณ์ ก็เลยต้องให้ลูกน้องผมแสดงความโง่ออกมาด้วยการเปิดไฟล์ PDF ด้วย Adobe Illustrator ทั้งๆ ที่คนคิดพัฒนาโปรแกรมเขาไม่ได้มีเจตนาอย่างนั้น ยกเว้นคนที่ทำงานเลือกรูปแบบไฟล์ PDF ที่เหมาะสมกับการเปิดด้วย Adobe Illustrator โดยตรง จึงจะสามารถนำมาเปิดด้วย Adobe Illustrator ได้ ไม่ใช่เอาไฟล์ PDF ที่ไม่ได้กำหนดค่านี้ไว้มาเปิด และวันนี้การที่จะให้นักออกแบบสามารถ Save ไฟล์ไปเป็น PDF ที่ถูกต้องนั้น ง่ายนิดเดียว ซึ่งเป็นหน้าที่ของศูนย์บริการที่จะแนะนำนักออกแบบให้ทำงานได้ถูกต้อง อย่ารับงานที่มีปัญหาแล้วมาบ่นทีหลัง หรืออย่ากั๊กความรู้เพราะกลัวลูกค้าจะย้ายไปทำที่อื่นเพราะที่อื่นถูกกว่า เรื่องอย่างนี้ผมว่ามันแก้ปัญหาได้ถ้าคนในวงการมีความจริงใจต่อกันที่จะแก้ ปัญหา
    ผมยกตัวอย่างปัญหาจากการทำงานด้วยโปรแกรม Adobe Illustrator มา 10 ประเด็นจากที่ได้รับทราบมาจากทั้งคำถามที่มีคนมาถามผมโดยตรง และจากการพบปะพูดคุยกับคนในวงการ คราวนี้จะเป็นข้อแนะนำและข้อปฎิบัติที่ควรทำสำหรับคนที่อยากจะทำงานอย่างถูก ต้องกับโปรแกรม Adobe Illustrator ดังนี้
    1. เลือก Document Profile ให้ถูกต้องกับงาน เริ่มแรกเลยก็ต้องมีการกำหนด Document Profile ให้ถูกต้องเช่นเลือกที่ Print โปรแกรมก็จะทำการกำหนด Mode สีเป็น CMYK การตั้งค่า Raster Effect ที่ 300 และก็ตั้งค่าให้แสดงผลที่ Overprint
    ข้อ เสนอแนะ หลังจากที่เปิดไฟล์ขึ้นมาแล้วขอแนะนำให้ทำการลบ สิ่งที่ไม่ได้ใช้ออกไปเพื่อที่เราจะได้เริ่มต้นไฟล์ที่มีขนาดเล็ก โดยการไปที่ Window > Actions > Delete Unused Panel Items ซึ่งหมายถึงการลบ Swatches, Brushes และ Symbols ที่ไม่ได้ใช้ออก หลังจากนั้นให้ Save ไฟล์นี้เป็น Template เมื่อต้องการทำงานครั้งต่อไปก็ให้เริ่มงานจาก Template นี้
    2. สร้างขนาด Artboard ให้ตรงกับเนื้องานจริง กำหนดขอบเขตพื้นที่ตัดตกให้ถูกต้อง ซึ่งความสามารถนี้มีมาใน Adobe Illustrator CS4 เรียบร้อยแล้ว แต่ถ้าไม่ได้ใช้ Adobe Illustrator CS4 เราก็สร้าง Artboard เท่าจริง เพียงแต่เวลาสร้างพื้นตัดตกให้ใช้คำสั่ง Effects > Path > Offset Path เพื่อทำการขยายพื้นที่ออกมาให้มีขนาดเท่าการเผื่อตัดตก แต่ถ้าเป็นภาพก็ใช้วิธีขยายภาพเผื่อออกไปแทน
    3. กำหนด Color Setting ของ Working Space ให้ถูกต้อง วันนี้ไม่ต้องสนใจอะไรทั้งนั้น เพราะเราไม่ได้ทำงานของใครคนเดียว และก็ไม่ได้พิมพ์อยู่ที่แท่นพิมพ์แท่นเดียว งานที่เราทำต้องส่งไปให้อีกหลายๆคนทำ ดังนั้นเพื่อความเป็นหนึ่งเดียวกัน ขอให้กำหนด Color Setting ให้เหมือนกันทุกโปรแกรม แล้ว Save การกำหนดค่านี้ไว้ ครั้งต่อไปเราก็สามารถเลือกได้ที่ Adobe Bridge แล้วทุกโปรแกรมจะได้เหมือนกัน สำหรับ Color Setting ที่ควรตั้งและเป็นผลดีของทุกฝ่ายเพื่อให้มีการอ้างอิงจากที่เดียวกันคือ ค่า RGB ให้กำหนดเป็น Adobe RGB (1998) ส่วน CMYK ให้เลือกที่ Coated FOGRA39 (ISO 12647-2:2004) หากมีใครถามว่าทำไมตั้งค่านี้ ก็บอกเขาว่าถ้าอยู่ใน Working Space เดียวกัน เวลาคุยกันมันก็จะรู้เรื่องง่ายกว่าการเปรียบเทียบกับการที่ไม่ได้ใช้ มาตรฐานเดียวกัน และตอนนี้หน่วยงานมาตรฐานหลายๆ แห่ง อย่างเช่น หน่วยงาน PPA ที่ออกคู่มือ pass4press ที่รู้จักกันในวงการพิมพ์ (ไม่รู้บ้านเรารู้จักกันไหม) เขาก็ยังยืนยันว่าควรใช้ Profile มาตรฐานที่เป็น ISO ดีกว่า Profile ติ๊งต๊องที่มักสร้างกันเอง แต่ผลสุดท้ายดิจิทัลปรู๊ฟก็ไม่ผ่าน แต่ปรู๊ฟแท่นจะผ่าน ก็เพราะเล่นเร่งสี อัดน้ำหนักจนพิมพ์จริงไม่ได้ พูดถึงเรื่องนี้ผมอยากรู้นักว่าหากแท่นปรู๊ฟพวกนี้พังกันแล้วจะหาซื้อที่ไหน แล้วเมื่อไรจะบอกความจริงกันเสียทีว่า มันเหลืออยู่เฉพาะบ้านเราละมั้งที่ต้องไปหาซื้อแท่นปรู๊ฟมือสอง มือสามจากต่างประเทศที่เขาเลิกใช้กันแล้ว ทำไมเราไม่เอาเวลาที่เสียไปมาสร้างความรู้ให้เราสามารถทำงานกับดิจิทัลปรู๊ฟ ได้เล่า
    4. วางแผนการทำงาน งานทุกอย่างที่จะทำบนคอมพิวเตอร์ ไม่ใช่จะมานั่งโยกไปโยกมาอยู่หน้าจอ แต่ต้องมีการร่างแบบ แล้วก็เลือกใช้เครื่องมือที่ถูกต้องสร้าง Path พยายามสร้างงานด้วยความเข้าใจ Appearance และ Isolate Mode พยายามจัดการ Layer ให้มีประสิทธิภาพ คัดเลือก Path ที่สัมพันธ์กันไว้ด้วยกัน แยกชั้น Layer ให้ง่ายต่อการทำงาน อย่าไปเชื่อพวกที่บอกว่า Layer เยอะ ไฟล์จะใหญ่ เพราะทุกอย่างที่เป็น Path มันก็เป็น Layer ลองคลิ๊กแบบย่อยดูจะรู้ว่า Layer มันขึ้นตามจำนวน Path และที่สำคัญควรกำหนดชื่อ Layer ทุกครั้งที่สร้างใหม่ เพื่อที่จะได้ทราบว่าอะไรเป็นอะไร ที่สำคัญ ไปอ่านหนังสือที่บอกว่าเครื่องมือแต่ละอย่างทำงานอย่างไรด้วย และสุดท้ายหมั่นตรวจสอบรายละเอียดของไฟล์ที่ Document Info ด้วย
    5. ใช้ File ภาพ ที่มีการฝังโปรไฟล์สีมาอย่างถูกต้อง เมื่อต้องการที่จะใช้ภาพจากไฟล์ภาพ ที่อาจจะเป็น .TIF หรือ .PSD ให้เข้าใจว่าควรจะใช้ภาพที่มีโปรไฟล์สีตรงกับ Working Space เช่นถ้าเป็นไฟล์ RGD ก็ให้เป็น Adobe RGB ถ้าเป็น CMYK ก็ขอให้เป็น Coated FOGRA39 เพราะว่าหากใช้โปรไฟล์ที่ไม่ตรงกัน หากเราทำการสร้าง Effect ที่ทำให้เกิดการทำงานเรื่อง Transparency แล้วละก็ ภาพทั้งหมดมันจะถูกแปลงไปเป็น Coated FOGRA39 ที่เรากำหนดไว้ คราวนี้ถ้าไม่ตรงกันมันก็จะเกิดการแปลง CMYK หนึ่งไป CMYK หนึ่ง คราวนี้ถ้าทุกคนยังทนงตัวว่าโปรไฟล์ข้าดี ข้าเจ๋ง มันก็จะมาผิดเพี้ยนกันที่ตรงนี้ นี่จึงเป็นที่มาว่าต้องการให้ใช้ Color Profile เดียวกันให้หมด ลด ละ เลิก ความเป็น Profile ส่วนตัวกัน หากคุณต้องเอางานไปเข้ากับคนอื่น วันนี้เรามาวัดฝีมือกันที่มาตรฐานเดียวกัน ใครสามารถควบคุมมันได้ดีกว่า
    6. กำหนดขนาดภาพให้ถูกต้อง หลายคนยังหลงผิดคิดว่าการใช้ไฟล์ภาพที่มีความละเอียดสูงจะยิ่งคมชัดมาก ขอบอกให้ทราบว่าที่เข้าใจมาแบบนี้มันผิดเพราะไฟล์ที่มีความละเอียดเเกินความ พอดี จะยิ่งทำให้ภาพนั้นไม่ชัด การไล่น้ำหนักภาพจะเสียไป วิธีที่ถูกต้องคือใช้ไฟล์ที่มีขนาดเท่าจริง และความละเอียดที่สัมพันธ์กับสื่อที่พิมพ์ (ผมเขียนไว้ในส่วนของ Adobe Photoshop แล้ว) และถึงแม้จะมีขนาดเท่าจริงแล้ว แต่เรามาทำการย่อขยายใน Adobe Illustrator ความละเอียดของภาพก็จะเปลี่ยนแปลงไป และอีกเรื่องหนึ่งก็คือห้ามหมุนภาพที่นำมาแปะบน Adobe Illustrator (ยกเว้นการหมุนแบบ 90, 180, 270 องศา) เพราะจะทำให้ภาพไม่ชัดเหมือนต้นฉบับ


    7. ตรวจสอบเรื่อง Transparency เมื่อทำงานเสร็จแล้วเราควรที่จะทำการตรวจสอบเรื่อง Transparency เพราะจะได้รู้ว่าบางกรณีอาจไม่จำเป็นต้องสั่งให้ทำการ Flattening ทั้งหมด อันไหนที่ไม่เกี่ยวข้องหรือหลีกเลี่ยงได้ ก็ไม่ต้องทำ หรือบางครั้งอาจจะใช้แค่การสั่ง Rasterize ก็ได้ เพราะการเลือกทั้งหมดแล้วสั่ง Flatten Transparency เป็นการทำงานที่ไม่ใช้ฝีมือเอาเสียเลย และจะทำให้ File ถูกหั่นเป็น Path เล็กๆ จำนวนมาก แล้วไฟล์งานก็จะใหญ่เกินความจำเป็น
    8. ตั้งค่า Rasterize ให้เหมาะกับงาน ก่อนที่จะมีการกำหนดค่า Flatten Transparency ก็ควรจะรู้จักวิธีการกำหนดค่า Flatten Transparency โดยกำหนดให้ Raster/Vector Balance = 100, Line Art and Text Resolution = 2,400 ppi, Gradient and Mesh Resolution = 300 เมื่อกำหนดเรียบร้อยแล้วก็ทำการ Save Preset ไว้ด้วย เพราะตอนที่เราจะ Save เป็น PDF/X เราต้องมาเลือกค่า Flatten Transparency อันนี้
    หมายเหตุ หากเราส่งไฟล์นี้เป็น PDF ให้กับศูนย์บริการ เราเพียงแต่กำหนดค่า Flatten Transparency ไว้ แต่ไม่ต้องสั่ง Flatten Transparency ที่ไฟล์ Adobe Illustrator เพราะตอนที่โปรแกรมทำการแปลงเป็น PDF/X นั้นโปรแกรมจะทำการ Flatten Transparency ให้โดยอัตโนมัติอยู่แล้ว ดังนั้นที่ไฟล์ Adobe Illustrator ให้เรายังคง Live Transparency ไว้ดีกว่า



    9. ตรวจรายละเอียดของการทำงาน ก่อนที่จะจบงานลองเข้าไปตรวจสอบว่ารายละเอียดของงานที่เราทำนั้นมีอะไรบ้าง โดยให้ไปที่ Window > Document info โดยเราสามารถตรวจสอบในรายละเอียดของงานด้วยการ Save เป็นรายงาน เหมือนเป็นการ Preflight การทำงานไปในตัว และนอกจากการดูรายละเอียดในส่วนนี้แล้วเราควรจะไปตรวจสอบการมองเห็นที่ View > Overprint Preview เพื่อตรวจสอบว่าในงานที่เราทำมีการกำหนดการทำงาน Overprint ตรงไหนบ้าง และควรตรวจสอบที่ View > Pixel Preview เพื่อจะทำการตรวจสอบในการแสดงผลแบบ Raster ซึ่งจะแสดงผลให้เราทราบว่าภาพ และ Effects ที่เราสร้างจะมีความคมชัดเพียงใด และเวลาจะดูต้องดูที่ 100% นะครับ ไม่ใช่ (Zoom มันขึ้นมาเกินขนาดที่พิมพ์จริง) ส่วนอันสุดท้ายคือความสามารถใหม่ใน CS4 คือการตรวจสอบด้วย Separations Preview Panel ซึ่งจะทำให้เราสามารถตรวจสอบการแยกสีได้เป็นเบื้องต้น
    10. ส่งงานเป็น PDF คราวนี้ตอนส่งงานเราก็จะส่งเป็นไฟล์ PDF เท่านั้น แต่ก่อนที่เราจะส่งไฟล์ด้วย PDF ต้องทบทวนก่อนว่า เราได้ทำการตามขั้นตอนที่ผมบอกมา 9 ข้อนี้หรือยัง ถ้าทำแล้วก็สามารถส่งเป็นไฟล์ PDF ไปให้ศูนย์บริการได้ โดยไม่ต้องส่งเป็นไฟล์ Adobe illustrator แล้วไม่ต้อง Create Outline ด้วย โดยขอให้เราเลือกการ Save ไฟล์เป็น PDF ดังนี้ (ผมขอแนะนำเป็น PDF/X-3 นะครับ ส่วนใครที่เก่งแล้วก็เลือก PDF/X-4 ไปเลย แต่อย่าลืมถามร้านด้วยนะว่า RIP เขาใหม่หรือเก่า)
    • เลือก Adobe PDF Preset ที่ PDF/X-3:2002
    • ไปที่ Mark and Bleeds เลือกตรง Bleed หากใช้ CS4 แล้วกำหนด Bleed ไว้แล้วก็คลิ๊กตรง Use Document Bleed Settings แต่ถ้าเราไม่ได้กำหนดไว้เราสร้างงานเผื่อไว้แล้วเราก็เลือกกำหนดเองได้ตาม ช่องที่มีให้ใส่ขนาดลงไป
    • ไปที่ Advance ดูตรง Overprint and Transparency Flattener Options ให้เลือก Preset ที่เราสร้างไว้ (ตามข้อ 8.) เพราะค่า Default ที่เลือกไว้เป็น High Resolution นั้นยังละเอียดไม่พอนะครับ
    • Save Preset เมื่อกำหนดเรียบร้อยแล้วควรจะ Save การตั้งค่านี้ไว้ คราวหน้าเราตจะได้ไม่ต้องมากำหนดใหม่อีก
    • เลือก Save PDF เป็นขั้นตอนสุดท้าย เราทำเพียงแค่นี้เราก็จะได้ไฟล์ที่ถูกต้องและเป็นมาตรฐานสำหรับจะส่งไปแยกสี หรือไปพิมพ์ที่ไหนก็ได้ แม้แต่จะส่งไปยังประเทศนิคารากัว
    แต่สำหรับศูนย์บริการที่ชอบปรับแต่ไฟล์งานให้เรา และเขาชอบเอาไฟล์ PDF ไปเปิดด้วยโปรแกรม Adobe Illustrator นั้น เราอย่า Save ไฟลืไปเป็น PDF/X นะครับ จะต้อง Save เป็นไฟล์ PDF ดังนี้
    • เลือก Adobe PDF Preset ที่ Illustrator Default
    • ตรง General > Options เลือก Preserve Illustrator Editing Capabilities
    • เลือก Save PDF
    สำหรับศูนย์บริการที่ชอบเปิดไฟล์ PDF ด้วย Adobe Illustrator นั้น ผมอยากให้นักออกแบบสั่งแก้งานบ่อยๆ ให้เขาทำโน่น ทำนี่ เพราะแสดงว่าคนงานเขาว่างมาก เลยมีเวลามาทำงานให้เราใหม่ แทนที่จะเอาไฟล์ PDF ที่เป็นมาตรฐานแล้วโยนเข้า RIP ไปเลย แต่กลับมาเปิดงานเราเพราะเขาไม่รู้จะทำอะไรเมื่อได้ไฟล์ที่มีมาตรฐานมา
    ทั้งหมดนี้เป็นขั้นตอนการทำงานด้วยโปรแกรม Adobe Illustrator สำหรับการเตรียมไฟล์เพื่องานพิมพ์ หากใครที่ทำแบบนี้แล้วส่งไปยังศูนย์บริการแล้วถูตีกลับมาแสดงว่าเขาทำงาน PDF ไม่เป็นครับ




    การใช้งานภาษาไทย Unicode กับ Adobe

    การใช้งานภาษาไทย กับ Adobe InDesign CS4 ในหัวข้อนี้เป็นหัวใจสำคัญมากๆ สำหรับคนไทย เพราะเป็นการทำงานกับภาษาไทยของเราโดยตรง และสิ่งที่ผมคิดไว้สักวันหนึ่งว่าโปรแกรมจะทำงานร่วมกับภาษาไทยดีกว่าในปัจจุบัน และแล้ววันนี้ก็เป็นจริง นั้นคือการใช้งานโปรแกรม Indesign CS4 ร่วมกับภาษาไทยที่สามารถทำงานได้ดีขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง ความดีตรงนี้ผมบอกได้เลยว่า พี่ขจร พีรกิจ ของพวกเรานั้นเองที่เป็นคนพลักดันเรื่องนี้ให้เป็นจริงขึ้นมา หรือถ้าใครไม่รู้ว่า คุณขจรคือใคร หรือพี่ขจรที่พวกเราเรียกกันเป็นใคร คุณขจร พีรกิจ เป็นคนทำงานให้ข้อมูลและทดสอบการใช้งานให้กับ Adobe ในเมืองไทย และตำแหน่งของคุณขจรคือ Adobe Evangelist, Adobe User Group Manager: Thailand นั้นเอง ไม่ต้องใช้ฮาร์ดล็อกสำหรับตัดคำอีกแล้ว ใช่ครับคุณอ่านไม่ผิดแน่นอน!! เพราะเวอร์ชั่นนี้เป็นเวอร์ชั่นที่คนไทยรอคอยเลยก็ว่าได้ เพราะคุณไม่ต้องใช้ Hard lock อีกแล้ว ซึ่งหลายๆ คนก็คงสงสัยว่าจะใช้งานได้ดีขนาดนั้นเชียวหรือ แล้วปัญหาฟอนต์ละ ใช้ฟอนต์อะไรได้บ้างแล้วจะมีปัญหาอะไรอีก ทั้งหมดนี้จะมีคำตอบให้คุณในบทนี้แน่นอน และผมยังได้นำบทความพิเศษจากพี่ขจรมาให้คุณๆ ได้อ่านกันอีก เพราะว่าปัญหาฟอนต์บ้านเรามันผิดกันมาตั้งแต่ต้นกันแล้ว ซึ่งปัจจุบันถ้าแก้กัน บอกได้เลยว่าได้รื้อระบบกันแน่นอน เพราะฉะนั้นจึงต้องมานั่งแก้ปัญหากันที่ปลายเหตุกันอยู่ ซึ่งเป็นเรื่องยากมาก และตอนนี้ก็ได้มีหลายๆ ฝ่ายร่วมมือกันแก้ปัญหากันอยู่ ผมก็ขอเอาใจช่วยนะครับ ลด ละ เลิก ใช้ Font ภาษาไทยที่ไม่ใช่ Unicode กันเถอะ เนื่องด้วยขณะนี้ผลพวงในการที่มีการพัฒนา Plugin ให้โปรแกรมใหม่ๆ สามารถใช้งานกับ Font ที่ไม่ใช่ Unicode ได้ส่งผลกระทบในการทำงานข้ามระบบ และการทำงาน Output ในระบบเป็นอันมาก มูลเหตุแห่งปัญหาที่อยากให้เรายอมรับกันก็คือ มาตรฐานของ Font ASCII กับ Font Unicode ของภาษาไทยเราไม่สอดคล้องกัน และความเป็นจริง โปรแกรมของ Adobe ตั้งแต่ CS1 เป็นต้นมา ไม่ได้ทำงานเพื่อตอบสนองกับ Font ที่เป็น ASCII แต่เรามักไม่ยอมรับความจริงกัน ยังพยายามที่จะใช้ Font ที่ตัวเองชอบให้ได้โดยไม่สนใจว่าจะมีปัญหาอะไรตามมาในอนาคต

    โหลดฟอนต์ Unicode 2009

    http://www.mediafire.com/?4zl9jku5yv63q

    Font OpenType และ Unicode ต่างกันยังไง

    OpenType คือ ไฟล์ฟอร์แมต ได้แก่ .otf หรือ .ttf ส่วนใหญ่ใช้ .ttf เพราะ compatible + feature ดีกว่า รายละเอียดเป็นเรื่องของ fontlab กับ file format ไป ไม่กล่าวถึงนะ
    -Unicode เป็นแค่ encoding หรือการเข้ารหัส ไม่ใช่ ชนิดฟอนต์ นะครับ อย่าเข้าใจผิด แต่!! font ชนิด OpenType เป็นฟอนต์ที่เข้ารหัสแบบ Unicode ครับ


    คราวนี้มีประโยชน์ยังไง

    1. ความเป็น unicode ทำให้แลกเปลี่ยนเอกสารระหว่าง platform ต่างๆ ที่สนับสนุนเป็นความจริงได้
    2. แต่ unicode ไม่ backward compatible กับโปรแกรมที่ไม่สนับสนุนในกรณีที่ไม่ใช่ตัวอักษรภาษาอังกฤษพื้นฐาน
    3. ความเป็น opentype ช่วยให้ฟอนต์ฉลาดขึ้น ซืึงก็ขึ้นกับ "โปรแกรม" ที่เขียนฝังลงไปในฟอนต์ opentype ตอนที่สร้าง เช่น ปรับระดับสระ วรรณยุกต์ได้เองเหมือนกับที่ TSP, Kokai ทำ หรือการปรับ kerning และเลขเศษส่วน เป็นต้น จริงๆ เราประยุกต์ได้เยอะมากๆ ครับ
    4. ความเป็น opentype ทำให้มีโอกาสที่จะดีไซน์ฟอนต์ที่ ฉลาด มากขึ้น ทำให้คนทำงานสามารถทำงานได้ตรงกับที่ต้องการมากยิ่งขึ้นอีก

    OpenType คือ ไฟล์ฟอร์แมต ได้แก่ .otf หรือ .ttf ส่วนใหญ่ใช้ .ttf เพราะ compatible + feature ดีกว่า รายละเอียดเป็นเรื่องของ fontlab กับ file format ไป ไม่กล่าวถึงนะ

    - Unicode เป็นแค่ encoding หรือการเข้ารหัส ไม่ใช่ ชนิดฟอนต์ นะครับ อย่าเข้าใจผิด แต่!! font ชนิด OpenType เป็นฟอนต์ที่เข้ารหัสแบบ Unicode ครับ


    คราวนี้มีประโยชน์ยังไง

    1. ความเป็น unicode ทำให้แลกเปลี่ยนเอกสารระหว่าง platform ต่างๆ ที่สนับสนุนเป็นความจริงได้
    2. แต่ unicode ไม่ backward compatible กับโปรแกรมที่ไม่สนับสนุนในกรณีที่ไม่ใช่ตัวอักษรภาษาอังกฤษพื้นฐาน
    3. ความเป็น opentype ช่วยให้ฟอนต์ฉลาดขึ้น ซืึงก็ขึ้นกับ "โปรแกรม" ที่เขียนฝังลงไปในฟอนต์ opentype ตอนที่สร้าง เช่น ปรับระดับสระ วรรณยุกต์ได้เองเหมือนกับที่ TSP, Kokai ทำ หรือการปรับ kerning และเลขเศษส่วน เป็นต้น จริงๆ เราประยุกต์ได้เยอะมากๆ ครับ
    4. ความเป็น opentype ทำให้มีโอกาสที่จะดีไซน์ฟอนต์ที่ ฉลาด มากขึ้น ทำให้คนทำงานสามารถทำงานได้ตรงกับที่ต้องการมากยิ่งขึ้นอีก

    Unicode คืออะไร

    โดยพื้นฐานแล้ว, คอมพิวเตอร์จะเกี่ยวข้องกับเรื่องของตัวเลข. คอมพิวเตอร์จัดเก็บตัวอักษรและอักขระอื่นๆ โดยการกำหนดหมายเลขให้สำหรับแต่ละตัว. ก่อนหน้าที่๊ Unicode จะถูกสร้างขึ้น, ได้มีระบบ encoding อยู่หลายร้อยระบบสำหรับการกำหนดหมายเลขเหล่านี้. ไม่มี encoding ใดที่มีจำนวนตัวอักขระมากเพียงพอ: ยกตัวอย่างเช่น, เฉพาะในกลุ่มสหภาพยุโรปเพียงแห่งเดียว ก็ต้องการหลาย encoding ในการครอบคลุมทุกภาษาในกลุ่ม. หรือแม้แต่ในภาษาเดี่ยว เช่น ภาษาอังกฤษ ก็ไม่มี encoding ใดที่เพียงพอสำหรับทุกตัวอักษร, เครื่องหมายวรรคตอน และสัญลักษณ์ทางเทคนิคที่ใช้กันอยู่ทั่วไป.
    ระบบ encoding เหล่านี้ยังขัดแย้งซึ่งกันและกัน. นั่นก็คือ, ในสอง encoding สามารถใช้หมายเลขเดียวกันสำหรับตัวอักขระสองตัวที่แตกต่างกัน,หรือใช้หมายเลขต่างกันสำหรับอักขระตัวเดียวกัน. ในระบบคอมพิวเตอร์ (โดยเฉพาะเซิร์ฟเวอร์) ต้องมีการสนับสนุนหลาย encoding; และเมื่อข้อมูลที่ผ่านไปมาระหว่างการเข้ารหัสหรือแพล็ตฟอร์มที่ต่างกัน, ข้อมูลนั้นจะเสี่ยงต่อการผิดพลาดเสียหาย.

    Unicode จะเปลี่ยนแปลงสิ่งเหล่านั้นทั้งหมด!

    Unicode กำหนดหมายเลขเฉพาะสำหรับแต่ละอักขระ, โดยไม่สนใจว่าเป็นแพล็ตฟอร์มใด, ไม่ขึ้นกับว่าจะเป็นโปรแกรมใดและไม่ว่าจะเป็นภาษาใด. มาตรฐาน Unicode ได้ถูกนำไปใช้โดยผู้นำในอุตสาหกรรม เช่น Apple, HP, IBM, JustSystem, Microsoft, Oracle, SAP, Sun, Sybase, Unisys และอื่นๆ อีกมาก. Unicode เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับมาตรฐานใหม่ๆ เช่น XML, Java, ECMAScript (JavaScript), LDAP, CORBA 3.0, WML ฯลฯ., และเป็นแนวทางอย่างเป็นทางการในการทำ ISO/IEC 10646. Unicode ได้รับการสนับสนุนในระบบปฏิบัติการจำนวนมาก, บราวเซอร์ใหม่ๆ ทกตัว, และผลิตภัณฑ์อื่นๆ อีกมาก. การเกิดขึ้นของ Unicode Standard และทูลส์ต่างๆ ที่มีในการสนับสนุน Unicode, เป็นหนึ่งในแนวโน้มทางเทคโนโลยีซอฟต์แวร์ระดับโลกที่มีความสำคัญที่สุด.
    การรวม Unicode เข้าไปในระบบไคลเอ็นต์-เซิร์ฟเวอร์ หรือแอ็พพลิเคชันแบบ multi-tiered และเว็บไซต์ จะทำให้เกิดการประหยัดค่าใช้จ่ายมากกว่าการใช้ชุดอักขระแบบเดิม. Unicode ทำให้ผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์หนึ่งเดียว หรือเว็บไซต์แห่งเดียว รองรับได้หลายแพล็ตฟอร์ม, หลายภาษาและหลายประเทศโดยไม่ต้องทำการรื้อปรับระบบ. Unicode ยังทำให้ข้อมูลสามารถเคลื่อนย้ายไปมาในหลายๆ ระบบโดยไม่เกิดความผิดพลาดเสียหาย.

    เกี่ยวกับ Unicode Consortium

    Unicode Consortium เป็นองค์กรไม่แสวงหากำไรที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อพัฒนา, ขยายและส่งเสริมการใช้ Unicode Standard, ซึ่งกำหนดรูปแบบการแทนค่าของข้อความในผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์และมาตรฐานใหม่ๆ. สมาชิกของสมาคมเป็นตัวแทนจากบริษัทและองค์กรในอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์และการประมวลผลสารสนเทศ. สมาคมได้รับการสนับสนุนทางการเงินผ่านทางค่าธรรมเนียมของการเป็นสมาชิกเท่านั้น. สมาชิกภาพของ Unicode Consortium เปิดกว้างสำหรับองค์กรหรือบุคคลใดๆ ในโลกที่ต้องการสนับสนุน Unicode Standard และช่วยเหลือการขยายตัวและการนำ Unicode ไปใช้งาน.
    สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม, ให้ดูที่ Glossary, Sample Unicode-Enabled Products, Technical Introduction และ Useful Resources.